ร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ  สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
 

1. ร่างพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่..)พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

ปรับปรุงมาตรา ๙

สถานะ              

อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

2. ร่างพระราชบัญญัติการกำกับและพัฒนานโยบายรัฐวิสาหกิจพ.ศ. ....

สาระสำคัญ

กำหนดมาตรการที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์โดย
          - จัดทำนโยบายของชาติในรูปแบบของแผนพัฒนาระบบรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นแผนระดับชาติ
          - จัดให้มีกลไกการบริหารจัดการเพื่อพลิกฟื้นรัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาวิกฤติด้านการเงินและโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบและทันท่วงที
          - กำหนดแนวทางการบริหารหลักทรัพย์ของรัฐให้เกิดมูลค่าสูงสุด
          - จัดให้มีหน่วยงานกลางที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับและพัฒนานโยบายที่เกี่ยวกับรัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ

สถานะ              

สคร.ได้เสนอร่างกฎหมายตั้งแต่กรกฎาคม ๒๕๕๓ เพื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาลงนามเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป แต่เนื่องจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของหนังสือที่ส่วนราชการจะเสนอกฎหมายต่อคณะรัฐมนตรี สคร. จึงได้ปรับปรุงร่างหนังสือเพื่อเสนอกระทรวงการคลังอีกครั้งหนึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอร่างหนังสือเพื่อ ผอ.สคร.พิจารณาลงนามเสนอกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย สคร.

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

เนื่องจาก สคร. ได้เสนอร่างกฎหมายดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีมาแล้วครั้งหนึ่ง (ในคราวประขุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๒) และคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังรับร่างกฎหมายดังกล่าวไปหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่วนราชการอื่นและให้เสนอเรื่องดังกล่าวเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งการเสนอร่างกฎหมายในคราวนี้เป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
 

3. ปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรืดำเนินการในกิจการของรับ พ.ศ.๒๕๓๕ หรือจัดทำร่างกฎหมายใหม่

สาระสำคัญ

ด้วยกระทรวงการคลังได้มีนโยบายให้ สคร. ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาในการบังคับใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐพ.ศ.๒๕๓๕ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและเป็นระบบ รวมถึงเสนอร่างกฎหมายที่จำเป็น เพื่อดำเนินการตามนโยบายดังกล่าวด้วยความรอบคอบและรับฟังความคิดเห็นของหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

สถานะ              

๑. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๓ พ.ค. ๕๔ อนุมัติหลักการส่งร่างให้ คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่าง โดยนำความเห็นของ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ สำนักงบประมาณ ประกอบการพิจารณา
๒. ระหว่างคณะกรรมการกฤษฎีกา.ตรวจร่างให้ศึกษาจัดทำกฎหมายลำดับรองที่จำเป็น

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ปัญหาและอุปสรรค

ด้วยปัจจุบันปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีโครงการที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่ให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือร่วมดำเนินการ ได้นำเรื่องหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นจำนวนมาก เนื่องจากความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติแห่งกฎหมายประกอบกับในบางกรณีไม่มีบทบัญญัติรองรับการดำเนินการ ส่งผลให้มีการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎหมายดังนั้นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงจำเป็นต้องใช้ความรอบคอบและถี่ถ้วนในการดำเนินการเพื่อให้ภาครัฐมีแนวทางในการกำกับโครงการที่โปร่งใส มีขั้นตอนที่ชัดเจน และสนับสนุนให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ อีกทั้งจำเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ตามกฎหมายในปัจจุบัน ดังนั้นการปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการพอสมควร ทั้งนี้ในเบื้องต้นคาดว่าจะสามารถปรับปรุงพระราชบัญญัติหรือตรากฎหมายใหม่เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔

หมายเหตุ/อื่นๆ

๑.กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งที่ ๑๐๓๙/๒๕๕๓ เรื่องแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.๒๕๓๕ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์) เป็นประธาน
          ๒.สคร. ได้มีคำสั่งที่ ๒๒๙/๒๕๕๓ แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนากฎหมายของสคร. ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๔ เพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. ๒๕๓๕ซึ่งปัจจุบันได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนากฎหมายครั้งที่ ๑/๒๕๕๓ (Kick Off Meeting) ในวันพุธที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ซึ่งได้มีการพิจารณาแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานฯ (หรือตรากฎหมายใหม่) ซึ่งคาดว่าจะสามารถเสนอแนวทางตลอดจนร่างกฎหมายปรับปรุงพระราชบัญญัติ (หรือหตรากฎหมายใหม่) เพื่อกระทรวงการคลังพิจารราภายในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔