ร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ  สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
 

1. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

กำหนดให้มีกองทุนการออมสำหรับแรงงานนอกระบบ มีการกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุน โดยมีคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติกำหนดนโยบายการลงทุน กำกับดูแลการบริหารกิจการของกองทุน รวมทั้งกำหนดเรื่องสิทธิของสมาชิกที่ได้รับจากกองทุนสมาชิกจะรับผลประโยชน์ทดแทนตามจำนวนเงินสะสม หรือเงินสมทบในส่วนของตนและดอกผลที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้หลังเกษียณให้เพียงพอต่อการดำรงชีพขั้นพื้นฐานเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สถานะ         ประกาศใช้บังคับแล้ว เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔     

พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ อยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งสำนักงานกองทุนการออมแห่งชาติ รวมทั้งยกร่างกฎหมายลูก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

2. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการชำระบัญชีบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

เนื่องจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) ซึ่งยุบเลิกตามมาตรา ๙๕ แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยพ.ศ.๒๕๔๔ จะต้องนำบทบัญญัติมาตรา ๙๓และมาตรา ๙๔ แห่งพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.๒๕๔๔ มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชี บสท. โดยอนุโลม และโดยที่มาตรา ๙๓ กำหนดให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการชำระบัญชี วิธีการชำระบัญชีระยะเวลาการชำระบัญชี เงื่อนไขในการโอนทรัพย์สินและหนี้สินของ บสท. และเงื่อนไขอื่นใดที่จำเป็นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาดังนั้น เพื่อให้การชำระบัญชี บสท. เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

สถานะ         ประกาศใช้แล้วเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔     

พระมหากษัติย์ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้งคณะกรรมการชำระบัญชีแล้่ว

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและอัตราการจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำจากค่าบีโอดีและปริมาณสารแขวนลอย พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

เป็นกฎหมายลำดับรองที่กำหนดรายละเอียดของการดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อจัดเก็บภาษีการปล่อยมลพิษทางน้ำจากค่าบีโอดีและปริมาณสารแขวนลอย

สถานะ              

อยู่ระหว่างการยกร่างกฎหมาย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

กฎหมายลำดับรอง
 

4. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตประกอบธุรกิจหลัักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

เพื่อขยายขอบเขตของใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้านซื้อขายหลักทรัพย์ การค้าหลักทรัพย์ และการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตารสารหนี้หรือเป็นหน่วยลงทุน ให้รวมถึงการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์และจัดจำหน่ายตราสารแลใบทรัสต์ด้วย

สถานะ              

คณะกรรมการกฤษฏีกาได้ตรวจพิจารณาร่างฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างพิจาณรายืนยันร่างฯ ของ สศค.

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

5. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๕

สาระสำคัญ

 -แก้ไขระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และรัฐมนตรีีว่าการกระทรวงการคลังโดยขยายระยะเวลาการพิจารณาออกไปเป็นภายใน ๙๐ วัน และ ๓๐ วันตามลำดับ
-แก้ไขให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทกิจการการยืมและให้ยืมหลักทรัพย์และการจัดการเงินร่วมลงทุนต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

สถานะ         ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖     

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

6. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าระหว่างผู้ค้าหลักทรัพย์ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

 -กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเืพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต้องเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นใหม่
 -แก้ไขระยะวเลาในการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตขอคณะกรรมการ ก.ล.ต. และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยขยายระยะเวลาการพิจาณาออกไปเป็นภายใน ๙๐ วัน และ ๓๐ วันตามลำดับ
 -กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้อดำรงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

สถานะ         ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖     

ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

7. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๕๕

สาระสำคัญ

 -กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่
 -แก้ไขระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และรัฐมนตรีว่าการกระทรววการคลัง โดยขยายระยะวเลาการพิจารณาออกไปเป็นภายใน ๙๐ วัน ปละ ๓๐ วันตามลำดับ
 -กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดำรงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

สถานะ         ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖     

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๕๖

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

8. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

 -กำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเพื่อประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นใหม่
 -แก้ไขระยะเวลาในการพิจารณาเพื่อออกใบอนุญาตของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และรัฐมนตรีว่าการกระทรววการคลัง โดยขยายระยะวเลาการพิจารณาออกไปเป็นภายใน ๙๐ วัน ปละ ๓๐ วันตามลำดับ
 -กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องดำรงคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด

สถานะ              

อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

9. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่....)พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. ส่งเสริมการแข่งขันในการประกอบธุรกิจตลาดหลักทรัพย์ โดยยกเลิกการห้ามิให้ผู้อื่นประกอบการเป็นตลาดหลักทรัพย์ ยกเลิกการห้ามมิให้สมาชิกซื้อขายหลักทรัพย์ จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์ และยกเลิกข้อกำหนดที่ให้การซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียนต้องกระทำโดยบริษัทหลักทรัพย์สมาชิก เป็นต้น
๒. ปฏิรูปตลาดหลักทรัพย์ให้เป็นบริษัทมหาชนเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยมีแรงจูงใจเชิงพาณิชย์เป็นปัจจัยขับเคลื่อนและปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานให้มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่ชัดเจน
๓. จัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุนเพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนในระยะยาว
๔. ปรับปรุงการกำักับดูแลให้มีความเหมาะสมโดยมีการป้องกันการถูกครองงำกิจการตลาดหลักทรัพย์ และให้อำนาจแก่หน่วยงานกำกับดูแลในกรณีที่มีความจำเป็นสามารถแทรกแซง เพื่อแก้ไขกฎเกณฑ์หรือสั่งการให้ตลาดหลักทรัพย์กระทำการใดๆ ตามที่เห็นสมควรได้







สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

กระทรวงการคลังเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีขอถอนร่างฯ เพื่อนำกลับมาทบทวนใหม่

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

10. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเ

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๒. กำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของรัฐในลักษณะเดียวกันกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากและธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกเก็บจากสถาบันการเงินของเอกชน
๓. กำหนดให้เงินของกองทุนใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังนี้
๓.๑ เป็นแหล่งเงินทุนในการเพิ่มทุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๓.๒ สนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี
๓.๓ ในความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินอื่นในการเพิ่มทุน
๓.๔ พัฒนาระบบสถาบันการเฉพาะกิจ
๓.๕ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยการกู้ยืม
๓.๖ เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน

สถานะ         กันยายน 2556     

กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อยืนยันร่างฯ ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขในประเด็นที่กระทรวงการคลังได้ยกขึ้น โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ทำหนังสือเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อลงนามยืนยันร่างดังกล่าวกลับไปสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

11. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงการคลัง
๒. กำหนดให้ออกหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่รน สิทธิหน้าที่ของผู้ออกบัตร ร้านค้า และผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าปรับต่างๆ
๓. กำหนดให้มีการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ต้องแจ้งให้ผู้ถือบัตรทราบหากมีการโจรกรรมข้อมูล หรือมีเรื่องทุจริตเกี่ยวกับบัตรเครดิตและผู้ประกอบการต้องจัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

สถานะ         ตุลาคม ๒๕๕๖     

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อพิจารณาในวาระที่ ๒ และ ๓ ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

12. ร่างพระราชบัญญัติมาตรการการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้นำมาตรการการคลังมาใช้เป็นมาตรการเสริมในการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ก่อมลพิษลดการก่อมลพิษ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการผลิตและการบริโภคไปในทางที่ก่อมลพิษน้อยลง
๒. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐใช้มาตรการการคลัง เช่น ภาษี และค่าธรรมเนียม เพื่อให้ผู้ก่อมลพิษต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการ
๓. จัดตั้งกองทุนเพื่อนำเงินที่ได้จากการจัดเก็บเข้ากองทุน เพื่อนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ในการรักษาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ

สถานะ         พฤศจิกายน ๒๕๕๖     

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า สมควรเสนอร่างฯ ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและทบทวนหลักการ โดยคำนึงถึงปัญหาและอุปสรรค จึงส่งเรื่องคืนมาที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักนโยบายภาษี โดยพิจารณายกร่างพระราชบัญญัติมลพิษทางน้ำ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติมลพิษทางอากาศ พ.ศ. .... แทนร่างฯ ดังกล่าว

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายภาษี/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

13. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๒. กำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของรัฐในลักษณะเดียวกันกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากและธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกเก็บจากสถาบันการเงินของเอกชน
๓. กำหนดให้เงินของกองทุนใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังนี้
๑) เป็นแหล่งเงินในการเพิ่มทุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๒) สนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี
๓) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินอื่นในการเพิ่มทุน
๔) พัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๕) ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเิงิน โดยการกู้ยืม
๖) เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน

สถานะ         พฤศจิกายน ๒๕๕๖     

กระทรวงการคลังยืนยันร่างฯ ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไขแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

14. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดมาตรการการลงโทษทางแพ่ง)

สาระสำคัญ

- กำหนดมาตรการการลงโทษทางแพ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสามารถบังคับใ้ช้กับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหล้ักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ไ้ด้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือไปจากบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการลงโทษทางอาญา
- ความผิดที่สามารถบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งได้เป็นความผิดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่ามีนัยต่อความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของตลาดทุนไทย
- เมื่อมีการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิดแล้ว จะทำให้คดีอาญาระงับหรือยุติไปด้วย เว้นแต่ถ้าเป็นความผิดที่ร้ายแรงหรือทำให้เสียหายเป็นวงกว้างและความผิดเกี่ยวกับประกอบธุีรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าจะมีการลงโทษทางแพ่งไปแ้ล้ว ก็ยังสามารถมีการดำเนินการคดีอาญากับผู้กระทำความผิดได้อีก
- มีคณะกรรมการกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งเืพื่อบังคับใช้กับผู้กระทำผิด

สถานะ         พฤศจิกายน ๒๕๕๖     

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามร่างฯ ดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

15. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๔๐ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยไม่จำเป็นต้องโอนทรัพย์สินอย่งเด็ดขาดไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ แต่สามารถใช้วิธีให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากนิติบุคคลเฉพาะกิจแทนได้
๒. นิติบุคคลเฉพาะกิจจัดตั้งในรูปแบบของทรัสต์ได้ทำให้สินทรัพย์ที่โอนมายังนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ต้้งในรูปทรัสต์จะไม่ถูกกระทบจากผลของการล้มละลายของผู้จำหน่ายสินทรัพย์หรือทรัสตี
๓. แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการกำหนดสิทธิประโยชน์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ ในส่วนของการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอนและการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน

สถานะ         พฤศจิกายน ๒๕๕๖     

กระทรวงการคลังยืนยันร่างฯ ต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วอยู่ระหว่างรอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออม/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

16. ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมการควบรวมกิจการในตลาดทุน พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. การลดภาระอันเกิดจากการโอนสิทธิเรียกร้องที่ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก เป็นสามารถแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายหรือจะบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้แต่ละรายก็ได้
๒. ระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ หากเจ้าหนี้ทุกรายยินยอมก็ไม่ต้องรอจนครบกำหนด ๖๐ วัน สามารถดำเนินการควบรวมกิจการต่อไปได้
๓. กำหนดคุ้มครองผู้ถือหุ้นเสียงข้างน้อยที่คัดค้านการควบรวมกิจการ ให้บริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการสามารถถือหุ้นของตนเองได้และสามารถชำระค่าหุ้นเป็นทรัพย์สินอื่นได้
๔. ให้บริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนคดีที่ยังค้างได้ เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายไม่เปิดช่องให้มีการโอนคดีที่ยังคงค้างอยู่ในศาลไปยังบุคคลภายนอก โดยอาจถูกพิจารณาว่าเป็นการค้าความ
๕. ให้โอนการอนุญาต อนุมัติหรือการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ หากมีการควบรวมกิจการใบอนุญาตต่างๆ เหล่านั้นได้









สถานะ         พฤศจิกายน ๒๕๕๖     

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นชอบให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว และกระทรวงการคลังได้เสนอให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

17. ร่างพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน (ฉบับที่ ..) พ

สาระสำคัญ

แก้ไขข้อห้ามของสถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อแก่กรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินได้ตามประเพณีปฏิบัติตราบเท่าที่ไม่เป็นการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของสถาบันการเงิน

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

18. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจบัตรเครดิต พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องได้รับใบอนูยษตจากกระทรวงการคลัง
๒. กำหนดให้ออกหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น สิทธิหน้าที่ของผู้ออกบัตร ร้านค้า และสิทธิหน้าที่ของผู้ออกบัตร ร้านค้า และผู้บริโภค อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมและค่าปรับต่างๆ
๓. กำหนดให้มีการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ต้องแจ้งให้ผู้ถือบัตรทราบหากมีการโจรกรรมข้อมูล หรือมีเรื่องทุจริตเกี่ยวกับบัตรเครดิตและผู้ประกอบการต้องจัดให้มีศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ อยู่ระหว่างการนำเสนอเพื่อพิจารณาในวาระที่ ๒ และ ๓ ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

19. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเพื่อการสนับสนุนและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้จัดตั้งกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๒. กำหนดให้มีการเรียกเก็บเงินจากสถาบันการเงินของรัฐในลักษณะเดียวกันกับที่สถาบันคุ้มครองเงินฝากและธนาคารแห่งประเทศไทยเรียกเก็บจากสถาบันการเงินของเอกชน
๓. กำหนดให้เงินของกองทุนใช้จ่ายเพื่อกิจการ ดังนี้
๓.๑ เป็นแหล่งเงินในการเพิ่มทุนแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๓.๒ สนับสนุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการดำเนินโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี
๓.๓ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงินอื่นในการเพิ่มทุน
๓.๔ พัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ
๓.๕ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยการกู้ยืม
๓.๖ เป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการของกองทุน

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างฯ แล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร แต่ยังไม่บรรจุเป็นวาระ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

20. ร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้อำนาจกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินที่ประสบภาวะวิกฤตทางการเงินที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินได้

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างฯ เสร็จเรียบร้อย โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติมอยู่ระหว่างการพิจารณายืนยันร่างฯ ของกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

21. ร่างพระราชบัญญัติการติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรม พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องขึ้นทะเบียนกับกระทรวงการคลัง
๒. กำหนดให้คณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้เป็นผู้กำกับดูแลการทวงถามหนี้ของผู้ทวงถามหนี้และพิจารณาข้อร้องเรียนต่างๆ
๓. กำหนดวิธีปฏิบัติในการทวงถามหนี้ เช่น ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงตนโดยแจ้งชื่อสกุล ชื่อหน่วยงาน ต้องติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้ ติดต่อได้ในเวลา ๐๙.๐๐ ถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. เป็นต้น
๔. กำหนดข้อห้ามในการทวงถามหนี้ลักษณะต่างๆ เช่น การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำที่ทำให้กาเกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่น ถากถาง หรือเสียดสีต่อลูกหนี้หรือผู้อื่น การแสดงหรือการใช้เครื่องหมายหรือเครื่องแบบ สัญลักษณ์หรือข้อความใดๆ ที่อาจทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นต้น
๕. มีบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนอย่างชัดเจนทั้งโทษทางปกครอง และโทษทางอาญา

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างฯ เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

22. ร่างพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สาระสำคัญ

๑. การใหลูกจ้างจ่ายเงินสะสมในอัตราที่สูงกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
๒. การให้ลูกจ้างหรือนายจ้างหยุดหรือเลื่อนการส่งเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เป็นการชั่วคราว
๓. การเพิ่มทางเลือกในการบันทึกรายได้ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
๔. การให้โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปยังกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
๕. การกำหนดนโยบายการลงทุนสำหรับลูกจ้างที่ไม่แสดงเจตนาเลือกนโยบายการลงทุน
๖. การกำหนดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างที่มีอายุไม่น้อยกว่า ๕๕ ปี สามารถขอรับเงินออกจากกองทุนเป็นงวดได้

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเสนอร่างฯ แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับผลกระทบกรณีให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสมได้มากกว่านายจ้างจ่ายเงินสมทบ และควรปรับเพิ่มอัตราเงินสะสมและเงินสมทบจากร้อยละ ๒ เป็นร้อยละ ๓ หรือไม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

23. ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงการพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของประเทศ

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการคลัง/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

24. ร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. กำหนดให้ลูกหนี้สามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาเป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองให้กับเจ้าหนี้
๒. กำหนดทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันได้ เช่น กิจการ สิทธิเรียกร้อง สินค้าคงคลัง
๓. กำหนดให้สัญญาหลักประกันทางธุรกิจต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียน (อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า)
๔. กำหนดกระบวนการการบังคับหลักประกันที่มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องศาลทุกกรณี เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการพิจารณาคดีของศาล
๕. กำหนดการบังคับหลักประกันโดยแบ่งเป็น ๒ กรณี ดังนี้
๕.๑ กรณีทรัพย์สินทั่วไป เจ้าหนี้อาจเข้ายึดทรัพย์ที่เป็นหลักประกันนั้น หรือลูกหนี้อาจยินยอมให้เจ้าหนี้นำทรัพย์นั้นไปจำหน่ายโดยวิธีประมูลแบบเปิดเผยเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ หากลูกหนี้ไม่ยินยอม เจ้าหนี้อาจดำเนินการบังคับชำระหนี้ผ่านกระบวนการทางศาลได้
๕.๒ กรณีที่ทรัพย์นั้นเป็น "กิจการ" ให้ผู้บังคับหลักประกันวินิจฉัยว่ามีเหตุให้บังคับหลักประกัน แล้วจึงดำเนินการจำหน่ายหลักประกันเพื่อชำระหนี้ โดยให้ส่งมอบหลักประกันนั้นแก่ผู้บังคับหลักประกันร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... เป็นร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
๕.๒.๑ กำหนดให้ในกรณีที่เจ้าหนี้บังคับจำนองโดยการเรียกเอาทรัพย์จำนองหลุดและทรัพย์สินนั้นมีราคาน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระอยู่ หรือโดยการนำทรัพย์สินที่จำนองออกขายทอดตลาดและได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวเงินที่ค้างชำระกันอยู่ ให้เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้จนสิ้นเชิง
๕.๒.๒ กำหนดให้ผู้จำนองหลุดพ้นจากการชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง หากเจ้าหนี้บังคับจำนองแล้วได้ไม่ครบจำนวนหนี้ที่มีการนำทรัพย์สินไปจำนองเป็นประกัน
๕.๒.๓ กำหนดให้สิทธิตามสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเหนือสิทธิเรียกร้องที่นำมาเป็นหลักประกันตกไปเป็นของผู้รับโอนเมื่อมีการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นไปเช่นเดียวกับสิทธิจำนอง จำนำ หรือค้ำประกัน

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

อยู่ระหว่างการเสนอร่างฯ ต่อกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

25. ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. ฐานภาษีจัดเก็บจากราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
๒. อัตราภาษีจะกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาซึ่งไม่เกินเพดาน ดังนี้
- กรณีใช้ประโยชน์ทั่วไป (การพาณิชย์และอุตสาหกรรม) ไม่เกินร้อยละ ๐.๕ ของฐานภาษี
- กรณีใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยไม่ประกอบการเชิงพาณิชย์ ไม่เกินร้อยละ ๐.๑ ของฐานภาษี
- กรณีใช้ประกอบการเกษตรกรรม ไม่เกินร้อยละ ๐.๐๕ ของฐานภาษี
อย่างไรก็ตาม ให้อำนาจองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการตราข้อบังคับกำหนดอัตราภาษีสูงกว่าที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแต่ไม่เกินอัตราที่กำหนดในพระราชบัญญัติ
๓. กำหนดให้มีการลดหย่อนภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัยหรือประกอบเกษตรกรรมสำหรับตนเอง มีการลดภาษีสำหรับทรัพย์สินบางประเภท เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ และการยกเว้นภาษีกรณีที่ดินที่ได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายให้เสื่อมสภาพ
๔. ที่ดินที่มิได้ทำประโยชน์หรือทิ้งไว้ว่างเปล่าจะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้นทุก ๓ ปี เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้ประโยชน์จากที่ดิน



สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เพื่อปรับปรุงร่างฯ เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายภาษี/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

26. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดว่าด้วยนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. การแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์โดยไม่จำเป็นต้องโอนทรัพย์สินอย่างเด็ดขาดไปยังนิติบุคคลเฉพาะกิจ แต่สามารถใช้วิธีให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากนิติบุคคลเฉพาะกิจแทนได้
๒. นิติบุคคลเฉพาะกิจจัดตั้งในรูปแบบของทรัสต์ได้ทำให้สินทรัพย์ที่โอนมายังนิติบุคคลเฉพาะกิจที่ตั้งในรูปทรัสต์จะไม่ถูกกระทบจากผลของการล้มละลายของผู้จำหน่ายสินทรัพย์หรือทรัสตี
๓. แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการกำหนดสิทธิประโยชน์ในการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ในส่วนของการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการโอนและการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างฯ เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๖ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อพิจารณาต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

27. ร่างพระราชบัญญัติการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.......

สาระสำคัญ

๑. การกำหนดกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ เช่น กำหนดให้กระทรวงการคลังจัดทำแผนการคลังระยะ ๓ ปี และทบทวนทุกๆ ปี การจัดเก็บรายได้ การยกเว้นหรือลดภาษีอากร และการกันเงินภาษีเพื่อใช้จ่าย ลดภาษีอากร และการกันเงินภาษีเพื่อใช้จ่ายเพื่อการใดโดยเฉพาะต้องทำโดยกฎหมายเท่านั้น
๒. หน่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินได้เฉพาะตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่ายหรือตามกฎหมายอื่น
๓. การจัดทำงบประมาณต้องคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ การจัดเก็บรายได้ ความสามารถในการใช้จ่าย และสถานะหนี้สาธารณะ
๔. ให้มีเงินนอกงบประมาณเท่าที่จำเป็นการจัดตั้งกองทุนสาธารณะให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายเท่านัน
๕. ให้กระทรวงการคลังกำหนดมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และบัญชีการเงินแผ่นดิน เพื่อบันทึกรายการตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ
๖. ให้กระทรวงการคลังจัดทำรายงานการเงินแผ่นดินประจำปีงบประมาณ และรายงานความเสี่ยงทางการคลังประจำปี



สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาร่างฯ เสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณายืนยันร่างฯ ของกระทรวงการคลัง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการคลัง/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

28. ร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. ปรับปรุงการนับจำนวนการถือหุ้นของผู้มีสัญชาติไทยในบริษัทประกันวินาศภัย และการผ่อนผันการถือหุ้นของผู้ไม่มีสัญชาติไทยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒. การบริหารจัดการของกองทุนประกันวินาศภัย ให้กองทุนมีอำนาจกู้ยืมเงิน และเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทประกันวินาศภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
๓. กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนประกันวินาศภัยให้กองทุนจ่ายเงินแก่ผู้เอาประกันได้ทันทีที่บริษัทประกันวินาศภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยไม่ต้องรอเสร็จสิ้นกระบวนการล้มละลาย





สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสร็จแล้วอยู่ระหว่างการนำเสนอต่อสภาเพื่อพิจารณาในวาระที่ ๒ และ ๓ ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

29. ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต(ฉบับที่...) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. ปรับปรุงการนับจำนวนการถือหุ้นของผู้มีสัญชาติไทยในบริษํทประกันชีวิต และการผ่อนผันการถือหุ้นของผู้ไม่มีสัญชาติไทยให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. ๒๕๕๑
๒. การบริหารจัดการของกองทุนประกันชีวติให้กองทุนมีอำนาจกู้ยืมเงิน และเป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทประกันชีวิตที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
๓. กำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนประกันชีวิต ให้กองทุนจ่ายเงินคืนแก่ผู้เอาประกันได้ทันทีที่บริษัทประกันชีวิตถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยไม่ต้องรอเสร็จสิ้นกระบวนการล้มละลาย

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างการนำเสนอต่อสภาฯ เพื่อพิจารณาในวาระที่ ๒ และ ๓ ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

30. ร่างพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง)

สาระสำคัญ

๑. กำหนดมาตรการการลงโทษทางแพ่งเป็นมาตรการเพิ่มเติม เพื่อให้รัฐสามารถบังคับใช้กับผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือไปจากการบังคับใช้กฎหมายผ่านกระบวนการลงโทษทางอาญา
๒. ความผิดที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งได้เป็นความผิดที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยต่อความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของตลาดทุนไทย
๓. เมื่อมีการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางแพ่งกับผู้กระทำความผิดแล้ว จะทำให้คดีอาญาระงับหรือยุติไปด้วย เว้นแต่ถ้าเป็นความผิดที่ร้ายแรงหรือทำให้เสียหายเป็นวงกว้างและความผิดเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าจะได้มีการลงโทษทางแพ่งไปแล้ว ก็ยังสามารถมีการดำเนินการทางอาญากับผู้กระทำผิดได้อีก
๔. มีคณะกรรมการกำหนดมาตรการการลงโทษทางแพ่งเป็นผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่งเพื่อบังคับใช้กับผู้กระทำผิด

สถานะ         กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗     

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามร่างฯ ดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักนโยบายการออมและการลงทุน/สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-