ร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ  กรมธนารักษ์
 

1. ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ

สาระสำคัญ

          โดยที่พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.๒๕๑๘ ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ประกอบกับบทบัญญัติเกี่ยวกับความหมายของที่ราชพัสดุยังไม่ชัดเจน ทั้งยังมีการตรากฎหมายอื่นกำหนด ยกเว้น ให้หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบางแห่ง มีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์ เกี่ยวกับที่ราชพัสดุแทนกระทรวงการคลังได้ ทำให้มีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการบริหารจัดการที่ราชพัสดุเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ในการนี้ สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ

สถานะ              

          ๑. เดิมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนังานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้แยกออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ๑ ฉบับ และกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินทรัพย์สิน อีก ๑ ฉบับ
          ๒. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินเสร็จแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ และได้แยกร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ คือ
            - ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ. ....
          ๓.ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการก่อนที่จะแจ้งขอให้กระทรวงการคลังพิจารณายินร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) แล้วต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

2. ร่างพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ

สาระสำคัญ

          โดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายเฉพาะเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินอันมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นำไปใช้เป็นหลักเกณฑ์อ้างอิงหรือเป็นฐานในการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น หรือเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานอื่นของหน่วยงานของรัฐ ประกอบกับพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้บัญญัติให้กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการประเมินทรัพย์สินสมควรนำหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่บัญญัติในประมวลกฎหมายที่ดินมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์และสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลังดังกล่าวด้วย

สถานะ              

          ๑. เดิมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนังานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้แยกออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ๑ ฉบับ และกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินทรัพย์สิน อีก ๑ ฉบับ
          ๒. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินเสร็จแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ และได้แยกร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ คือ
            - ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ. ....
          ๓.ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการก่อนที่จะแจ้งขอให้กระทรวงการคลังพิจารณายินร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) แล้วต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

๑. สำนักกฎหมาย , ๒. สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

3. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

สาระสำคัญ

          โดยที่วิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นวิชาชีพอิสระ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมการประกอบวิชาชีพนี้ซึ่งอาจทำให้การประเมินมูลค่าทรัพย์สินเป็นไปอย่างไม่มีมาตรฐาน อีกทั้งยังไม่มีระบบควบคุมจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพอันมีสภาพบังคับทางกฎหมายสมควรจัดระเบียบการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน โดยให้อยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อให้การประกอบวิชาชีพดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานการประเมินมูลค่าทรัพย์สินและอยู่ภายใต้ระบบควบคุมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพเดียวกัน

สถานะ              

           ๑. เดิมคณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติในหลักการร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๗ โดยส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สำนังานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้แยกออกเป็นกฎหมายเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ๑ ฉบับ และกฎหมายเกี่ยวกับการประเมินทรัพย์สิน อีก ๑ ฉบับ
          ๒. คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ และร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการประเมินราคาทรัพย์สินเสร็จแล้วเมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙ และได้แยกร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุและการประเมินราคาทรัพย์สิน พ.ศ. .... ออกเป็นร่างพระราชบัญญัติ ๓ ฉบับ คือ
            - ร่างพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเพื่อประโยชน์แห่งรัฐ พ.ศ. ....
            - ร่างพระราชบัญญัติการประกอบวิชาชีพประเมินมูลค่าทรัพย์สิน พ.ศ. ....
          ๓.ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง ๓ ฉบับ อยู่ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดำเนินการก่อนที่จะแจ้งขอให้กระทรวงการคลังพิจารณายินร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) แล้วต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย , สำนักประเมินราคาทรัพย์สิน

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

4. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ที่ราชพัสดุเพื่อประโยชน์ในโครงการตามพระราชดำริหรือตามพระราชประสงค์ พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

          กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้โครงการตามพระราชดำริหรือพระราชประสงค์ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ใช้ที่ราชพัสดุเพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับโครงการตามพระราชดำริ หรือพระราชประสงค์ในองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ได้

สถานะ              

          ๑. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไป
          ๒. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เสร็จแล้วและได้ส่งร่างกฎกระทรวงฯ ให้กระทรวงการคลังพิจารณายืนยันร่างกฎกระทรวงฯ
          ๓. อยู่ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณายืนยันร่างกฎกระทรวงดังกล่าว และแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทราบ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

5. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๒๐ ปี กรมบัญชีกลาง พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

โดยที่เป็นการสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์โหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคสิบบาทหนึ่งชนิด เพื่อออกใช้เป็นที่ระลึกเนื่อในโอกาสครบ ๑๒๐ ปี กรมบัญชีกลางในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓

สถานะ         ประกาศใช้บังคับแล้ว     

ดำเนินการแล้วเสร็จและได้ประกาศกฎกระทรวงฯ ประกาศออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฯ ให้ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๔๘-๔๙ /๕ เมษายน ๒๕๕๔ และเล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๔๐ ง /หน้า ๔/๕ เมษายน ๒๕๕๔ ตามลำดับ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

6. กฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๖๐ ปี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๔

สาระสำคัญ

          โดยที่เป็นการสมควรที่จัดทำเหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาทหนึ่งชนิด ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๖๐ ปี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ

สถานะ         ประกาศบังคับใช้แล้ว     

          ดำเนินการแล้วเสร็จและได้ประกาศออกใช้เหรียญกษาปณ์ที่ระลึกฯ ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒ ก/หน้า ๑๐/๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ และ เล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๔ ง /หน้า๒๘/๑๔ มกราคม ๒๕๕๔ ตามลำดับ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

7. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลัษณะของเหรียณกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐๐ ปี โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

โดยที่เป็นการสมควรจัดทำเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว(ทองแดงผสมนิกเกิล) ราคายี่สิบบาทหนึ่งชนิด ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

สถานะ         ประกาศใช้บังคับแล้ว     

ดำเนินการแล้วเสร็จและได้ประกาศกฎกระทรวงฯ ประกาศออกใช้เหรีญกษาปณ์ที่ระลึกฯ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๓ ก/หน้า ๔๖-๔๗ / ๕ เมษายน ๒๕๕๔ และเล่ม ๑๒๘ ตอนพิเศษ ๔๐ ง /หน้า ๓ /๕ เมษายน ๒๕๕๔ ตามลำดับ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

8. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐๐ ปี กรมศิลปากร พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

โดยที่เป็นการสมควรจัดทำเหรียณกษาปณ์โลหะสองสี(สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาทหนึ่งชนิด ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ ๑๐๐ ปี กรมศิลปากรในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔

สถานะ              

๑.คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๔ อนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยได้ส่งร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการกฤฏีกาตรวจพิจารณา
๒. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือ ที่ นร ๐๙๐๑/๑๓๔ ลงวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ถึงกรมธนารักษ์ แจ้งว่าได้ตรวจร่างพิจารณาร่างกฎกระทรวงฯ เสร็จแล้วและได้ส่งร่างกฎกระทรวงฯ ให้กรมธนารักษ์พิจารณายืนยันร่างกฎกระทรวงฯ
๓. กรมธนารักษ์มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค ๐๓๐๔/๖๑๘๗ ลงวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งพิจารณาเห็นชอบร่างกฎกระทรวงฯ ที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือที่ นร ๐๕๐๓/๑๖๘๑๕ ลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ แจ้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามตลอดจน วัน เดือน ปี ของร่างกฎกระทรวงฯ ส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไปในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวภายในคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันขอให้แจ้งยืนยันที่จะดำเนินการต่อไปเมื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้าบริหารราชการแผ่นดินแล้ว
๕. กรมธนารักษ์มีบันทึก ด่วนที่สุด ที่ กค ๐๓๐๔/๑๐๕๙ ลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๔ ถึงรองปลัดกระทรวงการคลังหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน พิจารณานำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อพจิารณาลงนามในร่างหนังสือกระทรวงการครับถึงสำนักเลขาธิการรัฐมนตรีเพื่อยืนยันที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ