ร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของ  กรมศุลกากร
 

1. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเกียวโต (ฉบับแก้ไข) และว่าด้วยการนำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากร)

สาระสำคัญ

๑. เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "การผ่านแดน" และ "การถ่ายลำ" และเพิ่มเติมความเป็นมาตรา ๕๘ และิิเพิ่มมาตรา ๕๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช ๒๔๖๙ กำหนดหลักเกณฑ์การนำของเข้าเพื่อการผ่านแดนการถ่ายลำออกนอกราชอาณาจักร และอำนาจของพนักงานศุลกากรในการตรวจสอบ ตรวจค้นของผ่านแดนหรือของถ่ายลำ
๒. กำหนดให้ผู้ที่ประสงค์จะนำของเข้ามาในราชอาณาจักรอาจยื่นคำร้องขอให้อธิบดีกรมศุลกากรพิจารณากำหนดราคาของของนำเข้า กำหนดถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศหรือตีความพิกัดอัตราศุลกากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อจำแนกประเภทของของในพิกัดอัตราศุลกากรเป็นการล่วงหน้าก่อนที่จะสามารถนำขอเข้ามาในราชอาณาจักรได้ โดยให้เสียค่าธรรมเนยมตามวิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง และำกำหนดให้การพิจารณาเป็นการล่วงหน้าของอธิบดีกรมศุลกากรดังกล่าวมีผลผูกพันเฉพาะผู้ร้องขอตามระยะเวลาที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนด
๓. กำหนดให้นำหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ราคาตามบทนิยามในมาตรา ๒
๔. "ราคาศุลกากร" หรือ "ราคา" มาใช้ในการพิจารณากำหนดราคาของของนำเข้าเป็นการล่วงหน้า
๕. กำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เพื่อจำกัดการใช้อำนาจทางศุลกากรในการตรวจของและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากรได้
๖. กำหนดให้การดำเนินการทางศุลกากรในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นเดียวกับการดำเนินการทางศุลกากรโดยเอกสาร และกำหนดให้การดำเนินการโดยทางเอกสารใดซึ่งได้บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไ้ว้ ถ้าได้กระทำในรูปของขัอมูลอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถือว่าเป็นความผิดและมีโทษเช่นเดียวกับการกระทำที่ได้ดำเนินการโดยทางเอกสาร รวมทั้งกำหนดให้การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการศุลกากรเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์








สถานะ         กรกฎาคม ๒๕๕๖     

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามยืนยันร่างพระราชบัญญัติเพื่อเตรียมจัดส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อรอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแล้ว โดยได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) แล้ว เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวคณะรัฐมนตรีมิได้ยืนยันเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และกรมศุลกากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติตามขั้นตอนกระบวนการในการเสนอร่างกฎหมายอีกครั้ง โดยกรมศุลกากรได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาและรองปลัดกระทรวงการคลังได้ขอให้กรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษจำนวนเงินเพิ่มที่เรียกเก็บ) จึงได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติฯ ทุกฉบับมายังกรมฯ เพื่อจะได้พิจารณาในคราวเดียวกัน และกรมฯ ได้ส่งเรื่องคืนไปยังกระทรวงการคลังแล้ว แต่รองปลัดกระทรวงการคลังได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขจำนวนเงินภาษีที่เสียขาดจากจำนวน ๒๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท/ใบขน ให้งดการเรียกเก็บ น่าจะเป็นช่องทางเสียภาษีไม่ครบถ้วน จึงส่งเรื่องมายังกรมฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง และกรมฯ ได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาอีกครั้ง โดยเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "การผ่านแดน" และ "การถ่ายลำ" และเพิ่มเติมความเป็นมาตรา ๕๘ และเพิ่มมาตรา ๕๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไปในคราวเดียวกันด้วย ซ฿่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๔๕ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และกรมศุลกากรยืืนยันร่างกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัํญญัติฯ ฉบับนี้ไปเพื่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายต่างประเทศ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

2. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ.๑๙๘๒

สาระสำคัญ

(๑) เพิ่มบทนิยามคำว่า “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” “เขตไหล่ทวีป” “เขตทะเลหลวง” และกำหนดให้คำว่า “พระราชอาณาจักรสยาม” “พระราชอาณาเขต” และ“พระราชอาณาจักร” ที่ใช้ในพระราชบัญญัตินี้ให้หมายความรวมถึง “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” ด้วย
          (๒) กำหนดใหการนำเข้าของเข้ามาในเขตเศรษฐกิจจำเพาะถือเป็นการนำเข้าสำเร็จและกำหนดให้การนำของออกจากเขตเศรษฐกิจจำเพาะถือเป็นการส่งออกสำเร็จ
          (๓) กำหนดการดำเนินการในเขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นการเคลื่อนย้ายภายในโดยให้อำนาจอธิบดีกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการดำเนินการดังกล่าว
          (๔) กำหนดให้กรมศุลกากรใช้อำนาจทางศุลกากรเหนือเกาะเทียม สิ่งติดตั้ง และสิ่งก่อสร้างเพื่อความมุ่งหมายในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ อนุรักษ์และการจัดหาทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนนำบทบัญญัติว่าด้วยอำนาจศุลกากรในการสั่งหรือบังคับหรือจับกุมหรือดำเนินคดีมาใช้กับเขตเศรษฐกิจจำเพาะด้วย
          (๕) กำหนดให้นำทบบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะมาใช้บังคับกับเขตไหล่ทวีปโดยอนุโลม
          (๖) กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจทางศุลกากรในทะเลหลวงซึ่งรวมถึงสิทธิไล่ตามติดพันการสั่งหรือบังคับให้นายเรือหยุดเรือ นำเรือไปในที่แห่งใดเพื่อตรวจค้นจับกุมหรือดำเนินคดีเมื่อมีเหตุอันสมควรสงสัยว่ามีการลักลอบหรือจะลักลอบหนีศุลกากร รวมทั้งอำนาจการสอบสวนในเรื่องดังกล่าวด้วย

สถานะ              

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วสรุปได้ว่า ยังไม่ควรตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว เนื่องจาก การอนุวัติการตามอนุสัญญาฉบับนี้อยู่ภายใต้บังคับต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตามมาตรา ๑๙๐ วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกอบกับไม่มีบทบัญญัติใดของรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้เตรียมกฎหมายภายในให้พร้อมก่อนการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฯ และการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวควรมีการหารือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพราะอาจต้องมีหรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลายเรื่องเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. ๑๙๘๒

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายต่างประเทศ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

3. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับ fast track ระยะที่ ๑)

สาระสำคัญ

(๑) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๐ วรรคสอง แก้ไขค่าภาษีที่ขาดที่มีจำนวนไม่เกินหนึ่งพันบาทตามใบขนสินค้าฉบับหนึ่งๆ ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายจะสั่งให้งดการเรียกเก็บ
          (๒) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา๒๗ แกไขเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดเกี่ยวกับศุลกากร
          (๓) แกไขเพิ่มเติมมาตร ๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษปรับในความผิดฐานรับเอาไว้ซึ่งของที่ลักลอบหนีภาษีหรือเลี่ยงภาษี
          (๔) แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๒ จัตวา วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินเพิ่มที่เรียกเก็บได้สูงสุดไม่เกินค่าอากรที่ต้องชำระ

สถานะ              

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะรัฐมนตรีมิได้ยืนยันเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัีฐสภาและกรมศุลกากรได้เสอนร่างพระราชบัญญัติตามขั้นตอนกระบวนการในการเสนอร่างกฎหมายอีกครั้งโดยกรมศุลกากรได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาและรองปลัดฯ ได้ขอให้กรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ จึงได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติฯ มายังกรมฯ และกรมฯ ได้ส่งเรื่องคืนกระทรวงการคลังแล้ว แต่รองปลัดฯ ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขจำนวนเงินภาษีที่เสียขาดจากจำนวน ๒๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท /ใบขนให้งดการเรียกเก็บน่าจะเป็นช่องทางเสียภาษีไม่ครบถ้วนจึงส่งเรื่องมายังกรมฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

 

4. ร่างพระราชบัญญัติ ศุลกากร พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๓ เสียทั้งสิ้น
๒. ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๘) พุทธศักราช ๒๔๘๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานอากาศยานเข้าเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ให้รายงานก่อนอากาศยานเข้า โดยให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะประกาศกำหนดตามความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
๓. ยกเลิกความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานเรือเข้าเป็นมาตรฐานสากล โดยให้อธิบดีสามารถกำหนดระยะเวลาการรายงานก่อนเรือเข้าได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
๔. ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานเรือออกเป็นมาตรฐานสากล โดยให้อธิบดีสามารถกำหนดระยะเวลาการรายงานก่อนเรือออกได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพิ่มกำหนดบทลงโทษไว้โดยเฉพาะ
๕. ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒ ตรี แห่งพระราชบัญญํติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อเพิ่มเติมบทบัญญัติการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล เงินสินบนให้หักจ่ายได้ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท เงินรางวัลให้หักจ่ายได้ไม่เกิน ๕ ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของแผ่นดิน
๖. มีบทเฉพาะกาลเพื่อคุ้มครองสิทธิในเรื่องสินบนรางวัลที่มีการตรวจพบความผิดก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังพิจารณายืนยันร่างกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

หมายเหตุ/อื่นๆ

เดิมร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทบัญญัติในเรื่อง
๑. เพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า "ของถ่ายยานพาหนะ"
๒. เพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า "ของผ่านแดน"
๓. เพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า "การผ่านแดน"
(หมายเหตุ ในขั้นตอนตรวจร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เหลือเพียงเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "การผ่านแดน" และ "การถ่ายลำ")
๔. ยกเลิกความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน
๕. เพิ่มเติมความเป็นมาตรา ๕๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่อเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายและฝ่าฝืนสันติภาพระหว่างประเทศรวมทั้งการละเิมิดทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันได้นำบทบัญญัติตามข้อ ๑-๕ ดังกล่าว ไปบัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กฎหมายลำดับที่ ๑) แล้ว
 

5. ร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

แก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกความในมาตรา ๑๐ วรรคแรก แ่ห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (เพื่อให้สอดคล้องกับการยกร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. .... (ยกเลิกกฎหมายศุลกากรฉบับต่างๆ และนำมารวมไว้ในฉบับเดียวกัน)

สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

ชะลอร่างพระราชบัญญัติไว้ก่อนเนื่องจากร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. .... (ยกเลิกกฎหมายศุลกากรฉบับต่างๆ และนำมารวมไว้ในฉบับเดียวกัน) ยังไม่แล้วเสร็จอยู่ระหว่างการดำเนินการของกรมศุลกากร

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

6. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง)

สาระสำคัญ

๑. แก้ไขบทนิยามคำว่า "พื้นที่ควบคุมร่วมกัน" ให้หมายความถึงพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมร่วมกันตามกฎหมายว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดน
๒. แก้ไขหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรที่พนักงานศุลกากรตรวจพบในพื้นที่ควบคุมร่วมกันให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดการขนส่งข้ามพรมแดนที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบในพื้นที่ควบคุมร่วมกันในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามพรมแดนฯ โดยแยกเป็นสองกรณี
๓. ค่าใช้จ่ายสำหรับการผ่านแดน การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสำหรับการผ่านแดนไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน ดังนั้น หากมีความจำเป็นต้องกำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ก็ต้องกำหนดไว้ในส่วนอื่นของกฎหมาย มิใช่กำหนดไว้ในหมวดว่าด้วยอำนาจทางศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกัน
๔. กำหนดให้กรมศุลกากรมีอำนาจในทางศุลกากรในพื้นที่ควบคุมร่วมกันเช่นเดียวกับในเขตศุลกากรและกำหนดให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานศุลกากรในพื้นที่ดังกล่าวเป็นการปฏิบัติงานในราชอาณาจักร

สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้เสนอร่างพระราชบัญญัติฯ เข้าสู่งการพิจารณาของสภานิติบัญญัติต่อไปแล้ว และขณะนี้ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) แล้ว เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ และเข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหรือให้ข้อมูลต่อคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านแล้ว เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๔ แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะรัฐมนตรีมิได้ยืนยันเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และกรมศุลกากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นแผนนิติบัญญัติ และขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติการให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง) เป็นแผนนิติบัญญัติแล้ว เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๔ โดยอยู่ในระหว่างการเสนอร่างพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว ตามกระบวนการตรากฎหมาย ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๕๕ คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านในวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๕ สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติรับหลักการแล้ว เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๕ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ของสภาผู้แทนราษฎร และสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ วุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๖ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธย

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

7. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

๑. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๐ วรรคสอง แก้ไขค่าภาษีที่ขาดที่มีจำนวนไม่เกินหนึ่งพันบาทตามใบขนสินค้าฉบับหนึ่งๆ ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรหรือผู้ที่อธิบดีกรมศุลกากรมอบหมายจะสั่งให้งดการเรียกเก็บ
๒. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๗ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษในความผิดเกี่ยวกับศุลกากร
๓. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๒๗ ทวิ แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษปรับในความผิดฐานรับเอาไว้ซึ่งของที่ลักลอบหนีภาษีหรือหลีกเลี่ยงภาษี
๔. แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๒ จัตวา วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินเพิ่มที่เรียกเก็บได้สูงสุดไม่เกินค่าอากรที่ต้องชำระ

สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว แต่ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว คณะรัฐมนตรีมิได้ยืนยันเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาและกรมศุลกากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติตามขั้นตอนกระบวนการในการเสนอร่างกฎหมายอีกครั้ง โดยกรมศุลกากรได้เสนอกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณา และรองปลัดกระทรวงการคลังฯ ได้ขอให้กรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ จึงได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติฯ มายังกรมฯ และกรมฯ ได้ส่งเรื่องคืนกระทรวงการคลังแล้ว แต่รองปลัดกระทรวงการคลังฯ ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขจำนวนเงินภาษีที่เสียขาดจากจำนวน ๒๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท/ใบขน ให้งดการเรียกเก็บ น่าจะเป็นช่องทางเสียภา๊ษีไม่ครบถ้วน จึงส่งเรื่องมายังกรมฯ เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมฯ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายและระเบียบสำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

8. ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

สาระสำคัญ

ยกเลิกมาตรา ๑๐๙ เนื่องจากเนื้อหาสาระของบทบัญญัติดังกล่าวมีถ้อยคำไม่เป็นปัจจุบันและเกี่ยวเนื่องกัน เป็นเรื่องตัวแทนเช่นเดียวกันกับมาตรา ๑๐๘ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ๒๖๖๙ จึงแก้ไขโดยนำไปควบรวมเข้ากับมาตรา ๑๐๘ ให้เกิดความเหมาะสมยิ่งขึ้น

สถานะ         มิถุนายน ๒๕๕๖     

ได้ผ่านการตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๓) แล้ว สรุปได้ว่า การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ โดยรวมเป็นบทบัญญัติมาตราเดียวกันตามหลักการที่เสนอ โดยไม่แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกันด้วย จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับบทบัญญัติมาตรา ๑๐๖ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นอกจากนั้นเมื่อพิจารณาเหตุผลในการแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งประสงค์เพียงแต่ปรับปรุงถ้อยคำในกฎหมายให้ทันสมัยเท่านั้น กรณีจึงยังไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๐๘ และมาตรา ๑๐๙ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอในขณะนี้ ดังนั้นหากกรมศุลกากรประสงค์จะปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับตัวแทนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ก็สมควรที่จะพิจารณาดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติตัวแทนในมาตราอื่นให้สอดคล้องกันทั้งระบบด้วยทั้งนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้มีหนังสือแจ้งผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบแล้ว โดยขอให้แจ้งผลการพิจารณาให้ทราบด้วยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการของกรมศุลกากร

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-
 

9. ร่างพระราชบัญญัติ ศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ฉบับ fast track ระยะที่ ๒)

สาระสำคัญ

๑. ยกเลิกความในมาตรา ๑๑ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๔๓ เสียทั้งสิ้น
๒. ยกเลิกความในมาตรา ๑๕ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๘) พุทธศักราช ๒๔๘๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานอากาศยานเข้าเป็นไปตามมาตรฐานสากลที่ให้รายงานก่อนอากาศยานเข้าโดยให้เป็นอำนาจของอธิบดีที่จะประกาศกำหนดตามความเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
๓. ยกเลิกความในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ. ๒๕๔๘ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานเรือเข้าเป็นมาตรฐานสากล โดยให้อธิบดีสามารถกำหนดระยะเวลาการรายงานก่อนเรือเข้าได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์
๔. ยกเลิกความในมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ และให้ใชัความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อให้การรายงานเรือออกเป็นมาตรฐานสากล โดยให้อธิบดีสามารถกำหนดระยะเวลาการรายงานก่อนเรือออกได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ เพิ่มกำหนดบทลงโทษไว้โดยเฉพาะ
๕. ยกเลิกความในมาตรา ๑๐๒ ตรี แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๔๙๗ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อเพิ่มเติมบทบัญญัติขึ้นใหม่แทน เพื่อเพิ่มเติมบทบัญญัติการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัล เงินสินบนให้หักจ่ายได้ไม่เกิน ๑๐ ล้านบาท เงินรางวัลให้หักจ่ายได้ไม่เกิน ๕ ล้านบาท ส่วนที่เหลือให้ตกเป็นของแผ่นดิน
๖. มีบทเฉพาะกาลเพื่อคุ้มครองสิทธิในเรื่องสินบนรางวัลที่มีการตรวจพบความผิดก่อนพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

สถานะ         กรกฎาคม ๒๕๕๖     

อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังพิจารณายืนยันร่างกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายและระเบียบ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

เดิมร่างกฎหมายฉบับนี้ มีบทบ้ญญัติในเรื่อง
๑. เพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า "ของถ่ายยานพาหนะ"
๒. เพิ่ิมเติมบทนิยามของคำว่า "ของผ่านแดน"
๓. เพิ่มเติมบทนิยามของคำว่า "การผ่านแดน"
หมายเหตุ : ในขั้นตอนตรวจร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีการแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เหลือเพียงเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "การผ่านแดน" และ "การถ่ายลำ"
๔. ยกเลิกความในมาตรา ๕๘ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ และให้ใช้ความที่บัญญัติขึ้นใหม่แทน
๕. เ่พิ่มเติมความเป็นมาตรา ๕๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช ๒๔๖๙ เพื่อเป็นบทบัญญัติที่ใช้เป็นมาตรการป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายและฝ่าฝืนสันติภาพระหว่างประเทศรวมทั้งการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันได้นำบทบัญญัติตามข้อ ๑-๕ ดังกล่าวไปบัญญัติไว้ในร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กฎหมายลำดับที่ ๑) แล้ว
 

10. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่..) พ.ศ. .... (ว่าด้วยการอนุวัติให้เป็นไปตามอนุสัญญาเกียวโต (ฉบับแก้ไข) ฯลฯ)

สาระสำคัญ

๑. เพิ่มบทบัญญัติเพื่อรองรับการใช้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในการประกาศกำหนดให้เรียกเก็บอากร โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
๒. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดอัตราอากรตามราคาหรือสภาพ
๓. กำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจในการพิจารณากำหนดถิ่นกำเนิดของของที่จะนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ระบุไว้ในสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศเป็นการล่วงหน้าก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร
๔. กำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจในการพิจารณาตีความพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อจำเแนกประเภทของของที่จะเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการล่วงหน้าก่อนการนำของเข้ามาในราชอาณาจักร
๕. กำหนดให้ของที่ส่งออกไปซ่อม หรือของที่ส่งออกไปเพื่อผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดนอกราชอาณาจักร หากนำกลับเข้ามาให้ได้รับยกเว้นอากรเฉพาะเท่าราคาหรือปริมาณแห่งของเดิมที่ส่งออกไป
๖. กำหนดให้ของที่ได้รับยกเว้นอากรครอบคลุมไปถึงการได้รับยกเว้นอากรตามข้อผูกพันที่ประเทศไทยมีต่อองค์การต่างประเทศเป็นการเฉพาะตัวด้วย
๗. กำหนดให้ของนำเข้าซึ่งมีราคาไม่เกินที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รับยกเว้นอากร
๘. กำหนดให้ภาชนะสำหรับบรรจุของ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้บรรจุ ยึด รัด กันกระแทก ไม่ว่าจะำทำด้วยวัตถุใดๆ ก็ตาม ที่นำเข้ามาและจะส่งกลับออกไปได้รับการยกเว้น

สถานะ         กรกฎาคม ๒๕๕๖     

ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ลงนามยืนยันร่างพระราชบัญญัติเพื่อเตรียมจัดส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อรอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแล้ว และขณะนี้ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงหรือให้ความเห็นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) แล้ว เมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ แต่เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวคณะรัฐมนตรีมิได้ยืนยันเสนอเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา และกรมศุลกากรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติตามขั้นตอนกระบวนการในการเสนอร่างกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง โดยกรมศุลกากรได้เสนอกระทรวงการคลัังเพื่อพิจารณาและรองปลัดกระทรวงการคลังได้จขอให้กรมฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมอัตราโทษ จำนวนเงินในการงดการเรียกเก็บ และจำนวนเงินเพิ่มที่เรียกเก็บ) จึงได้ส่งคืนร่างพระราชบัญญัติฯ ทุกฉบับมายังกรมฯ เพื่อจะได้พิจารณาในคราวเดียวกัน และกรมฯ ได้ส่งเรื่องคืนกระทรวงการคลังแล้ว แต่รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็ฯการแก้ไขจำนวนเงินภาษีที่เสียขาดจากจำนวน ๒๐ บาท เป็น ๑,๐๐๐ บาท/ใบขน ให้งดเรียกเก็บ น่าจะเป็นช่องทางเสียภาษีไม่ครบถ้วน จึงส่งเรื่องมายังกรมฯ เพื่่อพิจารณาอีกครั้ง และกรมฯ ได้ส่งเรื่องไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้ง โดยนำเนื้อหาทั้งหมดของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. ๒๕๓๐ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๔ และการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๔ เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันประเทศไทยได้) มารวมกับร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ เนื่องจากขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติมีหลายฉบับ ได้ยกร่างขึ้นต่างวาระกันและได้ถูกส่งกลับมายังกรมศุลกากรแล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรรวมร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเข้าด้วยกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว และกรมศุลกากรยืนยันร่างกฎหมายไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ขณะนี้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฯ ฉบับนี้ไปเพื่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไป

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

ส่วนกฎหมายต่างประเทศ สำนักกฎหมาย

ปัญหาและอุปสรรค

-

หมายเหตุ/อื่นๆ

-